วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ความหมาย Hardware, Software, People Ware และ Data

ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน 1. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่พบใน Case ได้แก่ 1.1 Power Supply 1.2 Mainboard และ ฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งหรือเป็นส่วนหนึ่งของ Mainboard ที่สำคัญ ได้แก่ 1.2.1 CPU 1.2.2 RAM 1.2.3 Expansion Slots 1.2.4 Ports 1.3 Hard Disk 1.4 Floppy Disk Drive 1.5 CD-ROM Drive 1.6 DVD-ROM Drive 1.7 Sound Card 1.8 Network Card 2. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่อยู่นอก Case ที่สำคัญได้แก่ 2.1 Keyboard 2.2 Monitor 2.3 Mouse 2.4 Printer 2.5 Scanner 2.6 Digital Camera 2.7 Modem 2.8 UPS ที่มา http://www.pbps.ac.th/e_learning/combasic/hardware.html Software (ซอฟต์แวร์) เป็นองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ที่เราไม่สามารถสัมผัสจับต้องได้โดยตรง เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรม (Program) ที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้ Software ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ซอฟต์แวร์ระบบ 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ 1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software หรือ Operating Software : OS) หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงาน ติดต่อการทำงาน ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ Software ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่ในการจัดการ ระบบ ดูแลรักษาเครื่อง การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้เข้าใจ ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ 4 ชนิด ดังนี้ 1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึง ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP , DOS , Linux , Mac OS X 1.2 ยูทิลิตี้ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้น และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส , โปรแกรม Defrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น , โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม Uninstall Program , โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip-WinRAR)เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง ,โปรแกรมการสำรองข้อมูล(Backup Data) 1.3 ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในส่วนการรับเข้าและการส่งออก ของแต่ละอุปกรณ์ เช่น เมื่อเราซื้อกล้องวีดีโอมาใหม่และต้องการนำเอาวีดีโอที่ถ่ายเสร็จ นำไปตัดต่อที่คอมพิวเตอร์ ก็ต้องติดตั้งไดเวอร์ หรือโปรแกรมที่ติดมากับกล้อง ทำการติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักและสามารถรับข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกได้ โดยปกติโปรแกรม windows ที่เรามีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไดเวอร์ติดตั้งมาให้แล้วโดยเราไม่ต้องทำการติดตั้งไดเวอร์เอง เช่น ไดเวอร์สำหรับเมาส์ ,ไดเวอร์คีย์บอร์ด, ไดเวอร์สำหรับการใช้ USB Port , ไดเวอร์เครื่องพิมพ์ แต่ถ้าอุปกรณ์ใดไม่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ก็ต้องหาไดเวอร์มาติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งต้องเป็นไดเวอร์ที่พัฒนามาของแต่ละบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ 1.4 ตัวแปลภาษา (Language Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร เช่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assenbly) หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษา C) เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเฉพาะตัวเลข 0 กับ ตัวเลข 1 เท่านั้น ตัวแปลภาษาแบ่งได้ 3 ตัวแปล ดังนี้ - แอสเซมเบลอ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง เช่นแปลจากภาษา Assembly เป็นภาษาเครื่อง - อินเทอพรีเตอร์ (Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องโดยแปลทีละบรรทัดคำสั่ง เช่น โปรแกรมเมอร์ใช้โปรแกรมภาษา Basic ในการพัฒนาโปรแกรมแล้วแปลเป็นภาษาเครื่องทีละบรรทัดคำสั่ง - คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องโดยแปลทั้งโปรแกรมทีเดียว เช่น โปรแกรมเมอร์ใช้โปรแกรมภาษา C ในการพัฒนาโปรแกรมแล้วแปลเป็นภาษา เครื่องโดยแปลทั้งโปรแกรมทีเดียว ซึ่งจะเป็นที่นิยมมากกว่า ข้อ 2 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ 2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ การใช้งานทั่วไปก็จะมี Software ต่างๆ เช่น - ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร - ซอฟต์แวร์งานนำเสนอ - ซอฟต์แวร์ตารางคำนวณ - ซอฟต์แวร์งานกราฟิก - ซอฟต์แวร์สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ peopleware หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้1. ผู้จัดการระบบ (System Manager)2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)4. ผู้ใช้ (User)พีเพิลแวร์ (Peopleware) คือ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของเคื่องคอมพิวเตอร์ พีเพิลแวร์หรือบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เพราะบุคคลากรจะเป็นผู้จัดการหรือผู้ดำเนินงานให้ระบบคอมพิวเตอร์ดำเนินต่อไปได้เราสามารถแบ่งบุคลากรเป็นกลุ่ม ๆ ตามหน้าที่การทำงานได้ดังต่อไปนี้1. นักวิเคราะห์ระบบงาน (System Analysist :SA) คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่ในการติดต่อประสานงานกับผู้ใช้โปรแกรม ผู้จัดองค์กรและโปรแกรมเมอร์ ทำการศึกษาวิเคราะห์ระบบงานเดิม ออกแบบระบบงานใหม่ ติดตั้งระบบงานใหม่ รวมทั้งประเมินผลระบบงาน นักวิเคราะห์ระบบต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถมากกว่าโปรแกรมเมอร์ จบการศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาบริหารธุรกิจ สาขาคณิตศาสตร์ ศึกษาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีใหม่อย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบันยังขาดแคลนนักวิเคราะห์ระบบงานที่มีความรู้ความชำนาญ เพราะนักวิเคราะห์ระบบส่วนใหญ่ต้องอาศัยประสบการณ์สูง เช่น ฝ่ายการเงินต้องการนำคอมพิวเตอร์มาคิดคำนวณเรื่องรายรับ รายจ่ายของบริษัท นักวิเคราะห์ระบบก็ต้องศึกษาในเรื่องของการเงิน ขั้นตอนการทำงานของฝ่ายการเงิน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เมื่อศึกษารายละเอียดข้อมูลได้ตามต้องการแล้วนักวิเคราะห์ระบบจึงดำเนินการออกแบบระบบใหม่ที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลด้านการเงินต่อไป2. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้มาสร้างเป็นโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง โดยทำการเลือกภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับระบบงานนั้น ๆ ต้องมีความรู้ในเรื่องการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ แนวคิดแบบตรรกะ (Logic) ของโปรแกรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอกสารที่ได้จากการออกแบบระบบ เทคนิคการออกแบบระบบงาน ทำงานร่วมกันเป็นทีม 3. วิศวกรระบบ (System Engineer) คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ซ่อม บำรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับ โครงสร้างของฮาร์ดแวร์ หลักการทำงานของฮาร์ดแวร์ สามารถออกแบบและติดตั้งฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ได้ 4. ผู้บริหารระบบงาน (Administrator) คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารระบบงานหรือองค์กรด้านคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้ดังนี้ - ผู้บริหารศูนย์คอมพิวเตอร์ (Computer Center Administrator) คือบุคลากรท่ำทหน้าที่บริหารศูนย์หรือองค์กรทางด้านคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ มีหน้าที่กำหนดนโยบายและวางแผนการบริหารเพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย - ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA) คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและวางแผนการบริหารการจัดการฐานข้อมูลและการดูแลรักษาฐานข้อมูลขององค์กร5. พนักงานปฏิบัติการ (Operator) คือ บุคลากรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจประจำวันที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์6. ผู้ใช้ (User) คือ กลุ่มบุคลากรที่เป็นผู้ใช้ (User) และเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบงานของคอมพิวเตอร์ในฐานะผู้ใช้ระบบงานหรือเป็นผู้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ของตนเองหรือตามหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในภาระกิจประจำวันของตนเอง ที่มา http://gybzy0723.blogspot.com/2009/03/peopleware.html ข้อมูล (Dta) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะ ต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น ที่มา http://blog.eduzones.com/jipatar/85845

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น